ถึงตรงนี้อยากให้เข้าใจธรรมชาติการขายปอมถุงหน่อยนึงครับ ปอมถุงมักจะเป็นปลาเกรดที่เหลือจากการคัดมาขายหน้าร้านหรือส่งออก เวลาผู้ขายซื้อมาจากฟาร์มทีนึงก็จะซื้อมาทีละเยอะๆแล้วก็แบ่งเป็นถุงๆเฉลี่ยๆกันไปให้มีตัวสวยกับไม่สวยปนๆในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันเพื่อเป็นการเฉลี่ยราคา ถ้าเจอผู้ขายไร้จรรยาบรรณหน่อยอาจจะเจอการเอาปลาป่วยหรือปลาพิการมาปนด้วย เวลาซื้อต้องดูให้ดีดี
บ่อยครั้งที่ปอมถุงเป็นปลาที่มาจากหลายแหล่งและแน่นอนว่าไม่มีการกักโรคก่อนเป็นแน่(ลดต้นทุน-ประหยัดเวลา) แถมยังต้องมาถูกจับใส่ถุงแคบๆแขวนไว้ขายนานๆ ต้องอยู่ในถุงหลายชั่วโมงหรือบางครั้งว่ากันเป็นวัน มีการเปลี่ยนน้ำบ้างไม่เปลี่ยนน้ำบ้าง เพราะฉะนั้นปอมถุงเหล่านี้กว่าจะมาถึงมือเราก็เรียกได้ว่าอยู่ในสภาพสะบักสะบอมและเครียดสุดๆ
จุดนี้ล่ะครับเป็นทางแยกระหว่าง “รุ่ง” กับ “รอด” เพราะปลาที่มาถึงมือเรามักจะอยู่ในสภาพที่แม้จะยังไม่เห็นว่าป่วยแต่ก็ต้องเรียกว่างอมเต็มที รู้ๆกันอยู่แล้วว่าน้องปอมถ้าเครียดเมื่อไหร่เชื้อโรคทั้งหลายก็จะสำแดงเดชเมื่อนั้น และถ้าโชคร้ายยิ่งขึ้นบังเอิญมีปลาตัวใดตัวหนึ่งในถุงพาเอาเชื้อติดตัวมาด้วย ณ จุดนี้ก็ต้องเรียกว่าเชื้อมันบ่มกันมาจนสุกงอมพร้อมระเบิดกันเลยทีเดียว
อะไรที่จะทำให้ “ไม่รอด”
ถึงบ้านปุ๊บ เทลงตู้รวมปั๊บ ไม่มีการพักปลา ไม่มีการกักโรค ปลามาถึงแบบโทรมๆ เชื้อโรคกำลังเบ่งบานคับถุง เทโครมจัดเต็มลงไป...อย่าลืมสวดนะโมสามจบด้วยนะครับ ถ้ารอดปลอดภัยแนะนำว่างวดนั้นให้เอาไปแทงหวยได้เลย ฮ่าๆๆๆ
แล้วทำไงถึงจะเลี้ยง “ให้รุ่ง”
ต้องพักปลาก่อนสถานเดียวครับ ไม่ว่าปลาที่มาดูภายนอกจะแข็งแรงหรือไม่แข็งแรง ปลอดภัยไว้ก่อนเป็นดีที่สุด ยอมเสียเวลารอหน่อยดีกว่าเสียปลาทั้งตู้ รายละเอียดวิธีพักปลาดูได้จากที่นี่ครับ http://wilddiscusclubthailand.blogspot.com/p/blog-page_811.html
เขียนมาซะยาว ถึงตรงนี้หลายๆท่านบอกว่า..แหม..เรื่องแค่นี้ใครๆก็รู้ ใช่ครับ..ใครๆก็รู้ แต่จะมีซักกี่คนที่ทำ นั่นแหละคือจุดที่ต่างกัน
สรุปถึงตรงนี้ อยากจะบอกว่าซื้อปอมถุงมาเลี้ยงไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพียงแต่ถ้ารู้วิธีการดูแลที่เหมาะสมแล้ว นอกจากจะได้ปลามาในราคาประหยัดแล้วยังแน่ใจได้ว่าน้องปลาจะอยู่ไปกับเรานานๆด้วยครับ
No comments:
Post a Comment