ปอมป่ามีกี่ชนิด
คำถามยอดฮิตที่นักเล่นมือใหม่มั1. Symphysodon discus หรือน้องเฮคเคล
2. Symphysodon Haraldi หรือปอมสีน้ำตาล/น้ำเงิน (brown or blue discus)
3. Symphysodon aequifasciatus หรือปอมเขียว
Symphysodon discus (ปอมเฮคเคล)
เป็นปอมป่าชนิดที่มีลักษณะโดดเด่นคือมีเส้นพาดกลางตัวเส้นที่ 5 ที่มีสีเข้มและหนาโดดเด่นกว่าเส้นอื่นๆ ปอมป่าชนิดนี้หลายๆท่านมักพูดถึงกันว่าเป็นตัวปราบเซียนเพราะเลี้ยงยากกว่าอีก 2 ชนิดที่เหลือเพราะเลี้ยงไปซักพักก็มักจะมีอาการตัวลีบดำ ซึม ไม่กินอาหาร
อันที่จริงแล้วผู้เลี้ยงมือใหม่มักเจอปัญหานี้เพราะมักจะเอาเค้าไปเลี้ยงรวมกับปอมป่าหรือปอมบ้านชนิดอื่น ด้วยความที่น้อง Heckel เป็นปอมป่าทึ่มักจะเชื่องช้ากว่าชนิดอื่นๆ พอไปอยู่รวมกันก็เลยเกิดอาการขี้ตกใจ แย่งกินอาหารไม่ทันเพื่อน แล้วก็เลยซึมหงอยลงไปเรื่อยๆ
เพราะฉะนั้นวิธีแก้ปัญหาง่ายๆ (แต่แพงหน่อย) ก็คือการแยกเลี้ยงเฉพาะ Heckel ต่างหากและเลี้ยงเป็นกลุ่มๆซัก 5 ตัวขึ้นไปครับ ถ้าปลาดูไม่ค่อยกล้าขึ้นมากินอาหาร เราอาจจะเอาปลาปอมบ้านมาผสมด้วยซักตัวสองตัวในระยะแรก พอเค้าคุ้นที่คุ้นทางแล้วค่อยเอาแยกออกไปก็ได้ครับ
Symphysodon haraldi (ปอมน้ำตาล/แดง)
ปอมป่าชนิดนี้เป็นชนิดที่มีความหลากหลายของรูปแบบมากที่สุด และที่สำคัญคือเป็นต้นกำเนิดของปอมบ้านที่เราเลี้ยงส่วนใหญ่นี่แหละครับ ปอมป่าชนิดนี้มีขายกันค่อนข้างเยอะและมาในชื่อที่หลากลาย เช่น Trombetta Red, Alenquer Red, Wild Red, etc. ซึ่งทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่เป็นสปีชีส์เดียวกัน (เดี๋ยวไว้คุยเรื่องชื่อกันทีหลังนะครับ) ทั้งหมด
Symphysodon aequifasciatus (ปอมเขียว)
photo credit: <https://www.facebook.com/hekdiscus.crizanto/photos_all>
ปอมเขียว เป็นชื่อที่ไม่ค่อยน่าอภิรมณ์ซักเท่าไหร่และก็ไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยนักในตลาดบ้านเรา เหตุผลสั้นๆคือปอมเขียวส่วนใหญ่บอดี้มักจะไม่ค่อยกลมสวย สีสรรค์ก็ไม่ค่อยตระการตา ส่วนที่สวยๆอย่างที่เห็นในรูปนี้ ถ้ามีหลุดเข้ามาในบ้านเราซักครั้ง รับรองได้เลยครับว่าราคาถึงเลือดตกยางออกกันเลยทีเดียว ลักษณะที่โดดเด่นบ่งบอกความเป็นปอมเขียวก็คือจุดสีแดงที่กระจายอยู่บริเวณท้องและไล่ลามลงไปถึงครีบท้องทางด้านล่าง ยิ่งจุดนี้เยอะและสวยเท่าไหร่ราคาก็จะยิ่งสูงตามขึ้นไปเท่านั้นครับ
No comments:
Post a Comment