ที่ว่าอย่างนั้นเพราะปอมเป็นปลาเขตร้อน...ร้อนกว่าบ้านเราเสียอีก เค้าเลยไม่ชอบน้ำเย็นๆกันเอามากๆ เพราะฉะนั้นพอเข้าหน้าหนาวทีไรปลาก็มักจะอ่อนแอลงแล้วก็พาลเจ็บป่วยกันได้ง่ายๆ
เอาเป็นว่าผมจะเล่าวิธีการเตรียมตัวของผมให้ฟังก็แล้วกันนะครับ เผื่อจะเอาไปประยุกต์ใช้กันได้ตามสะดวก มี 3 ขั้นตอนง่ายๆตามนี้ครับ
- เตรียมตู้
- เตรียมปลา
- เตรียมคนเลี้ยง
ขั้นที่ 1 เตรียมตู้
1.1 “ทำความสะอาดตู้” กันชนิดทุกซอกทุกมุมไม่ว่าจะถ่ายน้ำใหญ่ ขัดกระจกทุกด้านรวมทั้งพื้น(สำหรับตู้โล่ง) ทำความสะอาดกรวดหรือทรายก้นตู้
1.2 “ล้างกรอง” ให้สะอาดด้วยครับ ไอเดียของขั้นตอนนี้คือกำจัดแหล่งสะสมของเชื้อโรคให้เหลือน้อยที่สุด
สำหรับการล้างกรองแนะนำให้เอามีเดียออกมาล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาดเพื่อกำจัดตะกอนที่สะสมอยู่ แต่ไม่ต้องถึงกับแช่เกลือผึ่งแดดก็ได้ครับ จะได้เก็บๆแบคทีเรียดีเอาไว้บ้าง
1.3 ฮีตเตอร์ อยากให้ใส่ใจกับขนาดและคุณภาพของฮีตเตอร์ที่เลือกนิดนึงครับ ควรเลือกฮีตเตอร์ให้ใหญ่กว่าไซส์ตู้ไว้ซักนิดนึง เพราะจะทำให้น้ำอุ่นได้เร็วขึ้นและเปลืองไฟน้อยกว่า
1.4 เทอร์โมมิเตอร์ อันนี้คืออย่าไว้ใจฮีตเตอร์เกินไปครับ มีเทอร์โมมิเตอร์ไว้คอยเช็คอีกตัวนึงว่าอุณหภูมิแม่นตามที่ต้องการหรือเปล่า เคยได้ยินกรณีฮีตเตอร์ต้มปอมกันมาบ่อยแล้วครับ
ขั้นที่ 2 เตรียมปลา
เป็นขั้นที่ว่าด้วยการกำจัดเชื้อโรคภายนอกและภายใน
2.1 สำหรับเชื้อภายนอกก็ทำด้วยการแช่ด่างทับทิมหรือฟอร์มาลินหรือไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ก็แล้วแต่ถนัดครับ
2.2 ส่วนการกำจัดเชื้อภายในเน้นไปที่เชื้อขี้ขาว (hexamita) เพราะฉะนั้นจะทำด้วยการแช่เมโทรนิดาโซลอย่างที่เรารู้ๆกันอยู่ครับ
ขั้นที่ 3 เตรียมคนเลี้ยง
เป็นขั้นตอนสำคัญที่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามครับ
3.1 ลดความคาดหวังของตัวเอง เมื่อเข้าหน้าหนาวปกติแล้วปอมจะกินน้อยลงกว่าปกติและมีความร่าเริงน้อยลงบ้าง ผู้เลี้ยงควรจะต้องเข้าใจปลาและอย่าไปตั้งความคาดหวังว่าปลาจะทำตัวเหมือนในหน้าร้อนทุกอย่าง ที่สำคัญต้องสังเกตและแยกแยะให้ดีว่าปลาซึมตามฤดูกาลเฉยๆหรือปลาป่วยจริงๆ และพยายามอย่าเหมาใส่ยาต่างๆนานาลงไปถ้ายังไม่จำเป็นครับ
3.2 ลดปริมาณการให้อาหาร ทั้งในแง่ปริมาณและความถี่ สังเกตง่ายๆเอาแค่ที่ปลากินหมดใน 10-15 นาที ถ้ากลัวปลาอดแนะนำให้ให้ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆแทนครับ
3.3 ลดปริมาณการถ่ายน้ำลงบ้าง เมื่อปลากินและขับถ่ายน้อยลง ปริมาณน้ำที่เราถ่ายแต่ละครั้งก็จะลดลงตาม ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาการแกว่งของอุณภูมิน้ำที่เกิดจากน้ำที่เติมเย็นกว่าน้ำในตู้ ถ้าเราเปลี่ยนน้ำคราวละเยอะๆเหมือนในหน้าร้อน ปลาอาจเกิดอาการช๊อคอุณหภูมิและป่วยเป็นโรคตกหมอกหรือโรคเปื่อยหรือแม้แต่ค่อยๆอ่อนแอลงแล้วเกิดเป็นโรคขี้ขาวตามมาได้ครับ
No comments:
Post a Comment